ไม่ได้มีไฮไลท์แค่โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มขนาดใหญ่
มีกำลังการผลิต 45 ตันทะลาย/ชั่วโมงที่กรมส่งเสริมสหกรณ์สนับสนุนงบประมาณกว่า 300
ล้านในการสร้างขึ้นมาเพื่อรองรับผลผลิตปาล์มจากเกษตรกรที่ได้รับส่งเสริมการปลูกในพื้นที่จ.นราธิวาสและใกล้เคียง
สำหรับ”นิคมสหกรณ์บาเจาะ”
ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส มีอาณาเขตและพื้นที่ดำเนินการอยู่ในท้องที่บางส่วนของ
9 ตำบล 4 อำเภอ 2
จังหวัด คือ อ.เมือง อ.ยี่งอและอ.บาเจาะ จ.นราธิวาสและอ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี
รวมพื้นที่ทั้งหมด 87,419 ไร่
ทว่าปัจจุบันยังมีอีกหลายโครงการที่นิคมสหกรณ์ฯแห่งนี้รับผิดชอบในการดูแลชีวิตความเป็นอยู่เกษตรกรสมาชิก
ไม่ว่าจะเป็นโครงการส่งเสริมการทำเกษตรปลอดภัยในพื้นที่นิคมสหกรณ์บาเจาะ
เพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและส่งเสริมเกษตรปลอดภัยในเขตนิคมฯประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566 ,โครงการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่พรุบาเจาะ
,โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีในพื้นที่นิคมสหกรณ์บาเจาะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นต้น
โดยมีสหกรณ์ที่อยู่ในความรับผิดชอบ
จำนวน 1 สหกรณ์ คือ
สหกรณ์นิคมบาเจาะ จำกัด ซึ่งนิคมฯ
ได้ดำเนินการส่งเสริมแนะนำให้สหกรณ์ดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
และตามอุดมการณ์ หลักการและวิธีการสหกรณ์
โดยสมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นิคมฯ
นางสาวสกันดาเรีย
แวมายิ ผู้อำนวยการนิคมสหกรณ์บาเจาะกล่าวถึงการดำเนินงานของนิคมสหกรณ์ฯ
กล่าวถึงภารกิจการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินของนิคมสหกรณ์บาเจาะ
ปีงบประมาณ 2566 (ข้อมูล ณ 31 กรกฎาคม 2566) ว่าผลสรุปการออกเอกสารสิทธิ์(ไร่)
กสน. จำนวน 138
ไร่และกสน.5 จำนวน 585
ไร่และมีการขอใช้ที่ดินและการอนุญาตให้ใช้ที่ดินภายในเขตนิคมสหกรณ์
ข้อมูลตามสัญญาอนุญาตให้ใช้ที่ดินในเขตนิคมสหกรณ์บาเจาะ (สรุปข้อมูล ณ 30 กันยายน 2565) แบ่งเป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
จำนวน 52 ราย
เนื้อที่ประมาณ 2,728 ไร่และนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดา
จำนวน 6 ราย เนื้อที่ประมาณ 547 ไร่
“ในส่วนของนิคมได้มีการออกหนังสือกสน.3 ไปแล้ว 53,930 ไร่ ส่วนกสน 5
อีก 31,885 ไร่
มีโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม แต่รับจ้างให้บริษัทเอกชนดำเนินการ
ส่วนนิคมฯก็จะดูแลส่งเสริมการปลูก รับซื้อผลผลิตสมาชิกป้อนโรงงาน
ส่วนสมาชิกนิคมขณะนี้ได้เอกสารสิทธิ์เกือบทั้งหมด มีบางส่วนรอการรังวัด
ครอบครัวละไม่เกิน 50 ไร่”
นางสาวสกันดาเรีย แวมายิ
ผู้อำนวยการนิคมสหกรณ์บาเจาะกล่าวถึงการดำเนินงานของนิคมสหกรณ์ฯ
ด้านนางสาวโสภิดา
ศรัทธารัตน์ สหกรณ์จังหวัดนราธิวาส กล่าวถึงการดำเนินงานของนิคมสหกรณ์บาเจาะเป็นรูปแบบเดียวกับนิคมสหกรณ์ปิเหล็ง
ที่มีการส่งเสริมอาชีพสมาชิกผ่านสหกรณ์นิคมบาเจาะ จำกัด
ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือการปลูกปาล์มน้ำมัน โดยได้รับการส่งเสริมสนับสนุนจากโครงการภาครัฐ
ส่วนในเรื่องกลุ่มอาชีพก็เหมือนนิคมสหกรณ์ปิเหล็ง
ซึ่งได้มีการส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่หันมาปลูกพืชผักปลอดสารพิษ
ผักอินทรีย์และพืชอีกหลายชนิด
“สหกรณ์ฯบาเจาะก็เข้มแข็งอยู่ในระดับหนึ่ง
แต่ปัญหาที่เราเจอเรื่องการบริหารจัดการ บางปีทำให้สหกรณ์ไม่มีกำไร
อาจเจอปัญหาขาดทุนบ้าง
ที่สำคัญสมาชิกยังขาดความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของสมาชิกและการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในธุรกิจของสหกรณ์
ซึ่งเป็นหน้าที่ทางสำนักงานสหกรณ์จังหวัดเข้าไปช่วยเหลือดูแลให้คำปรึกษาเพื่อให้สมาชิกได้เข้าใจสหกรณ์ทั้งระบบ”
สหกรณ์จังหวัดนราธิวาส กล่าวทิ้งท้าย
นิคมสหกรณ์บาเจาะ
นอกจากเป็นนิคมต้นแบบในการเรียนรู้กระบวนการผลิตปาล์มน้ำมันครบวงจรแล้ว
ปัจจุบันได้พัฒนาเป็นแหล่งรวมของพืชเกษตรปลอดภัยที่สร้างอาชีพและรายได้ให้กับสมาชิกนิคมสหกรณ์ฯได้เป็นอย่างดี