“น้ำผึ้งเดือน 5”
ได้ชื่อว่าเป็นน้ำผึ้งที่อัดแน่นด้วยสรรพคุณ เป็นเดือนที่อยู่ในช่วงฤดูร้อน ดอกไม้
พืชพันธุ์ในป่ากำลังงอกงาม
ทำให้ผึ้งสามารถเก็บน้ำหวานและเกสรดอกไม้ได้หลากหลายพันธุ์ ยิ่งช่วงเดือน5
หน้าร้อนมีความชื้นน้อย น้ำผึ้ง จึงมีความเข้มข้นสูง เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ปลายกุมภาพันธ์ถึงเมษายนทุกปี
เป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำผึ้งและสร้างายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งทั่วไทย
นายพิภพ คำอ้ายด้วง
ที่ปรึกษาสหกรณ์ผู้เลี้ยงผึ้งจังหวัดแพร่ จำกัดและเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้ง
ที่สร้างผลิตภัณฑ์น้ำผึ้ง ภายใต้แบรนด์”บ้านผึ้งฟาร์ม”
โดยปัจจุบันมีผึ้งที่เลี้ยงอยู่จำนวน 1,200 รัง
ถือว่าเป็นมีจำนวนรังมากที่สุดในบรรดาสมาชิกสหกรณ์ผู้เลี้ยงผึ้งด้วยกัน
โดยส่วนใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ 500-700 รัง
“ผมเลี้ยงผึ้งมา 20 กว่าปีแล้ว
ตอนนี้เลี้ยงอยู่ประมาณมาณ 1,200 รัง มากที่สุดเมื่อเทียบกับสมาชิกคนอื่น ๆ
ผึ้งที่นำมาเลี้ยงครั้งแรกเป็นสายพันธุ์ของศูนย์ผึ้งกรมส่งเสริมการเกษตรแล้วต่อยอดกันมามีพันธุ์ไต้หวันบ้าง”
นายพิภพเผยต่อว่าผึ้งใช้เวลาเลี้ยงประมาณ
9 เดือน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคนจนถึงมกราคม
จากนั้นเดือนกุมภาพันธ์ก็เริ่มทยอยเก็บน้ำผึ้งไปจนถึงเมษายนของทุกปี
ซึ่งน้ำผึ้งช่วงนี้ถือเป็นว่าเป็นน้ำผึ้งมีคุณภาพ มีความเข้มข้นสูง จากนั้นก็จำหน่ายให้กับพ่อค้าส่งออกที่มารับซื้อถึงหน้าฟาร์ม
ส่วนหนึ่งก็จะนำมาแปรรูปเป็นน้ำผึ้งบรรจุขวด แต่ละปีเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ
9,000-10,000 ขวด สนนในราคาขวดละ 100-120
บาท ภายใต้แบรนด์ ”บ้านผึ้งฟาร์ม” ส่วนของสหกรณ์ฯก็มีชื่อแบรนด์ น้ำผึ้งวังธง
ซึ่งเป็นที่ตำบลที่ตั้งสหกรณ์ผู้เลี้ยงผึ้งจังหวัดแพร่ จำกัด ในต.วังธง อ.เมือง
จ.แพร่
"เรื่องการตลาด ถ้าสมาชิกรายใหญ่
ๆ ก็จะขายกับพ่อค้าโดยตรง ส่วนรายเล็กรายน้อยก็จะขายให้กับสหกรณ์ อย่างของผมจะขายตรงกับพ่อค้าส่งออกไปไต้หวัน
รายนี้ซื้อขายกันมาเกือบ 20 ปีแล้ว”เกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งคนเดิมเผย
เขายอมรับว่าเกษตรกรเลี้ยงผึ้งจะทำได้แค่อาชีพเดียว
จะทำอาชีพเสริมรายได้อื่นค่อนข้างยาก เนื่องจากต้องโยกย้ายเดินทางไปตามที่ต่าง ๆ
ที่มีไม้ผลกำลังออกดอก อย่างเช่นช่วงมกราคมถึงกุมภาพันธ์ ลำไยเชียงใหม่
ลำพูนกำลังออกดอก ผู้เลี้ยงผึ้งจำเป็นต้องย้ายรังผึ้งไปที่นั่นเพราะเป็นช่วงที่ลำไยออกดอกพอดี
ซึ่งจะต่างจากอาชีพเกษตรอื่น ๆ เช่น ปลูกพืชผัก ทำสวนผลไม้หรือทำปศุสัตว์
เลี้ยงวัว เลี้ยงควายที่ต้องอาศัยอยู่กับบ้านตลอดไม่ต้องโยกย้ายไปไหน
และการเดินทางโยกย้ายแต่ละครั้งก็มีค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นที่เป็นต้นทุนการผลิต
“ตอนนี้ซื้อขายกันอยู่ที่100-120
บาทต่อกิโล ถ้าราคาไม่ต่ำกว่า100 บาท ผู้เลี้ยงผึ้งอยู่ได้
ส่วนสหกรณ์ก็จะเข้ามาช่วยในเรื่องหาวัสดุอุปกรณ์เกี่ยวกับการเลี้ยงผึ้ง
หาแหล่งทุนให้สมาชิกกู้ยืม รวมทั้งถ่ายทอดองค์ความรู้แก่สมาชิก
โดยมีสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแพร่คอยเป็นพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ
ส่วนน้ำตาลอาหารผึ้งที่มีราคาสูงขึ้นนั้นย่อมมีผลกระทบในเรื่องต้นทุนกับผู้เลี้ยงผึ้ง
ทางสหกรณ์ฯก็จะช่วยเจรจาซื้อน้ำตาลทรายจากโรงงานโดยตรงมาขายต่อให้กับสมาชิกในราคาต้นทุน
ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งได้ในระดับหนึ่ง”ที่ปรึกษาสหกรณ์ผู้เลี้ยงผึ้งจังหวัดแพร่
จำกัดกล่าว
ขณะที่นายสุรสิทธิ์ ใจตา
ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมพัฒนาบริหารการจัดการสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดแพร่
กล่าวถึงภาพรวมของการแก้ไขปัญหาหนี้คงค้างของสหกรณ์ในจังหวัดแพร่ โดยเป้าหมายในปี
2567 มีทั้งหมด 13 แห่ง แบ่งเป็นสหกรณ์จำนวน
5 แห่งและกลุ่มเกษตรกรอีก 8 แห่ง โดยมียอดหนี้คงค้างรวม 2.6 ล้านบาท
ทางสำนักงานสหกรณ์จังหวัดแพร่จึงเข้าไปแนะนำให้สหกรณ์ต่าง ๆ
ดำเนินโครงการติดตามเร่งรัดหนี้ โดยมีตัวชี้วัดใหม่เป็นการมีเงินออมเพิ่มขึ้น 3 %
พร้อมส่งเสริมพัฒนาอาชีพแก่สมาชิก ด้วยการปลูกมะเขือพวง ถั่วดำ
เนื่องจากสมาชิกสหกรณ์ส่วนใหญ่มีอาชีพทำไร่ทำนาหรือทำเกษตรผสมผสานอยู่แล้ว
“สหกรณ์ผู้เลี้ยงผึ้งในจังหวัดแพร่มีแห่งเดียว
ที่เราคุยกับปีที่แล้ว(2566)มีหนี้คงค้างอยู่ 1.5 ล้านบาท
จากการกู้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์เพื่อซื้อน้ำตาลเพื่อเป็นอาหารผึ้งให้กับสมาชิก
ตอนนี้ชำระไปแล้ว 6.8 แสนบาท ถือเป็นตัวอย่างสหกรณ์ที่ดี เพราะสมาชิกมีรายได้จากการประกอบอาชีพที่มั่นคง
ส่งผลให้การชำระหนี้อยู่ในเกณฑ์ดี” ผอ.สุรสิทธิ์ ย้ำทิ้งท้าย