สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) – ARDA ตอกย้ำความสำเร็จองค์กรชั้นนำด้านการสนับสนุนและบริหารงานวิจัยด้านการเกษตรของประเทศ
นำ 2 สุดยอดนวัตกรรม คว้ารางวัลผลงานวิจัย Impact สูงปี 2567 บนเวที TRIUP FAIR 2024 ซึ่งจัดขึ้นเพื่อยกย่องหน่วยงานสนับสนุนและพัฒนาผลงานวิจัย เทคโนโลยี
และนวัตกรรม ที่สร้างผลกระทบสูง ต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ตลอดจนเป็นการกระตุ้นให้เกิดการยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไทยด้วยการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนาภาคการเกษตรและแก้ปัญหาสำคัญของประเทศ
ดร.วิชาญ
อิงศรีสว่าง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร กล่าวว่า
ขอบคุณกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุนส่งเสริม ววน.)
ที่มอบรางวัล “ผลงานวิจัยแห่งชาติที่มีผลกระทบสูง ประจำปี 2567 Prime Minister’s TRIUP Award for Research Utilization with
High Impact 2024” ให้กับ ARDA
ซึ่งรางวัลนี้เป็นบทพิสูจน์ความสำเร็จจากความมุ่งมั่นของบุคลากรของ ARDA
และคณะวิจัย
ที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์งานวิจัยเพื่อสร้างรากฐานทางความรู้และความเข้มแข็งในวิทยาการด้านต่างๆ
ซึ่งจะเป็นกุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวข้ามความท้าทายในยุคปัจจุบันและสามารถนำงานวิจัยมาใช้ได้จริง
โดย 2 ผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ ได้แก่
ระดับ
"ยอดเยี่ยม
ผลงาน
"ปลดล็อคการใช้พลาสติกรีไซเคิลสัมผัสอาหาร ใส่ใจความปลอดภัย
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้ยั่งยืนผลงานวิจัยที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาขยะล้นเมืองด้วยการนำพลาสติก
(PET: Polyethylene Terephthalate) มาใช้รีไซเคิลได้ 100% สามารถช่วยลดปริมาณขยะพลาสติกได้ถึง 130,000
ตันต่อปี
และที่สำคัญงานวิจัยนี้ได้ถูกนำไปใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข
ฉบับที่ 435 พ.ศ.2565 เรื่อง
การกำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติกรีไซเคิล (rPET) ทดแทนการใช้พลาสติกใหม่ (Virgin PET) ส่งผลให้เกิดการปลดล็อคการใช้พลาสติกรีไซเคิลมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์สัมผัสอาหาร
นับเป็นก้าวสำคัญในการผลักดันอุตสาหกรรมด้านอาหารของไทยให้เข้าสู่มาตรฐานสากลตลอดจนลดปัญหาขยะที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ระดับ
“ดีเด่น”
ผลงาน
"การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนตามมาตรฐาน RSPO
บนฐานการมีส่วนร่วมของเกษตรกรรายย่อย"
ผลงานวิจัยที่มุ่งเน้นการผลิตปาล์มน้ำมันให้ได้มาตรฐาน RSPO ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับระดับโลกในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน
ที่คลอบคลุมด้านเศรษฐกิจ สังคม
สิ่งแวดล้อมอย่างรับผิดชอบต่อชุมชนนับเป็นหนึ่งในแนวทางในการยกระดับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทยสู่เวทีการค้าโลกที่มีการแข่งขันและข้อกีดกันทางการค้าสูง
ปัจจุบันงานวิจัยฯ สามารถผลักดันให้เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO
รวมกว่า 1,453 ราย
ซึ่งภายใต้การผลิตตามมาตรฐาน RSPO เกษตรกรสามารถขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น
0.55 บาทต่อกิโลกรัม
สร้างรายได้ให้เกษตรกรที่ผ่านการรับรองได้มากกว่า 114
ล้านบาทต่อปี
นับเป็นงานวิจัยที่สร้างความเชื่อมั่นให้กระบวนการผลิตและเพิ่มมูลค่าผลผลิตปาล์มน้ำมันของไทยให้พร้อม
ไปแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ
ดร.วิชาญฯ กล่าวย้ำว่า “ผลงานวิจัยนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งในความมุ่งมั่นสนับสนุนงานวิจัยที่สอดรับกับแนวโน้มของโลกที่มุ่งสู่เศรษฐกิจสีเขียวและเกษตรกรรมยั่งยืน ดังนั้นการนำเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมนั้น ไม่เพียงแต่ช่วยให้การเกษตรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แต่ยังเป็นการช่วยปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวอีกด้วย”
สำหรับมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยและนวัตกรรม (TRIUP FAIR 2024) ได้จัดขึ้นไปเมื่อระหว่างวันที่ 24
- 26 กันยายน 2567 ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน
เพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมของไทยให้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
สร้างรายไ ด้และความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ
ตลอดจนเป็นการกระตุ้นให้เกิดการยกระดับศักยภาพของอุตสาหกรรมไทยด้วยการประยุกต์ใช้ผลงานวิจัย
เทคโนโลยีและนวัตกรรม
ส่งผลให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้ภาคอุตสาหกรรมไทยต่อไป