CropLife
Asia และสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย ร่วมนำเสนอกรอบความร่วมมือเพื่อสร้างระบบอาหารที่มั่นคงและยั่งยืน
ผ่านนวัตกรรมและการมีส่วนร่วม
กรอบความร่วมมือนี้มุ่งยกระดับภาคการเกษตรของไทยอย่างยั่งยืน
พร้อมคุ้มครองสุขภาพของประชาชน
ด้วยแนวทางการทำเกษตรที่ทันสมัยและการใช้สารอารักขาพืชอย่างรับผิดชอบ
กรุงเทพฯ
12 มีนาคม 2568 – CropLife Asia (ครอปไลฟ์ เอเชีย)
และสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย (TAITA) ได้ประกาศเปิดตัว
Sustainable Pesticide Management Framework (SPMF) ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือเพื่อพลิกโฉมระบบอาหารที่มั่นคงและยั่งยืน
โครงการนี้จะช่วยยกระดับชุมชนเกษตรกรไทย ปกป้องสิ่งแวดล้อม คุ้มครองสุขภาพประชาชน
และเพิ่มศักยภาพการผลิตทางการเกษตร
กรอบความร่วมมือดังกล่าวนำเสนอแนวทางการพัฒนาการเกษตรแบบองค์รวม
ด้วยการผสานแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในด้านการอารักขาพืช นวัตกรรม
และการกำกับดูแลของภาครัฐ ที่สอดคล้องกับหลักการสากล
โครงการนี้เริ่มต้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2564 เมื่อ CropLife
International (ครอปไลฟ์ อินเตอร์เนชันแนล)
ได้เริ่มโครงการนำร่องในภูมิภาคแอฟริกา
และประเทศไทยเป็นประเทศสำคัญที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำเนินการในภูมิภาคเอเชีย
โครงการนี้มีระยะเวลาในการดำเนินการ 5 ปีภายใต้แผนการลงทุนมูลค่า 13
ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 500 ล้านบาท) ใน 9 ประเทศในภูมิภาคแอฟริกา เอเชีย
และละตินอเมริกา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกร
คุณอนงค์นาถ
จ่าแก้ว เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า “CropLife
Asia และสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย
เป็นพันธมิตรสำคัญในการสร้างระบบอาหารที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับประเทศไทย
กรอบความร่วมมือนี้จะสร้างเวทีการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ไขความท้าทายของเกษตรกร
พร้อมเปิดโอกาสสู่นวัตกรรมและความยั่งยืน โครงการนี้จะช่วยยกระดับภาคการเกษตรไทยสู่ความทันสมัย
และสร้างความมั่นใจในการผลิตอาหารที่ปลอดภัย มีคุณค่าทางโภชนาการ
และราคาเข้าถึงได้ ทั้งสำหรับคนไทยและประชาคมโลก”
คุณซิโมน
บาร์ก ประธาน CropLife Asia กล่าวว่า “SPMF ในประเทศไทยมีบทบาทสำคัญยิ่งขึ้นในการนำผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องมาร่วมมือกันขับเคลื่อนแนวทางใหม่
เทคโนโลยีใหม่ ความร่วมมือใหม่
และกรอบกฎระเบียบที่จะช่วยให้เกษตรกรของเรามีเครื่องมือที่จำเป็นและสมควรได้รับ
เพื่อสร้างระบบอาหารระดับประเทศที่เข้มแข็ง ยืดหยุ่น และยั่งยืนมากขึ้น”
คุณพอล
ลักซ์ตัน รองประธาน CropLife Asia กล่าวว่า “ความท้าทายที่เพิ่มขึ้น
ทั้งผลกระทบรุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ภัยแล้งและน้ำท่วมที่สร้างความเสียหาย รวมถึงศัตรูพืชและโรคระบาดที่มากขึ้น
ทำให้งานของเกษตรกรไทยยากลำบากกว่าที่เคย
เกษตรกรเหล่านี้คือวีรบุรุษด้านอาหารของไทยและสมควรได้รับการสนับสนุนจากพวกเรา SPMF
ประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนความร่วมมือตลอดห่วงโซ่คุณค่าอาหารเพื่อช่วยให้เกษตรกรรับมือกับความท้าทายเหล่านี้
และช่วยให้สามารถเพาะปลูกพืชได้มากขึ้นอย่างปลอดภัยและยั่งยืน”
สมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย
(TAITA) เป็นตัวแทนของ CropLife Asia ในประเทศไทย ประกอบด้วยผู้ผลิตและผู้นำเข้าสินค้าเกษตร
ที่มุ่งมั่นยกระดับภาคการเกษตรไทย คุณกล้วยไม้ นุชนิยม
นายกสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย
เห็นด้วยว่าความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเป็นกุญแจสำคัญ โดยกล่าวว่า
“ความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม ภาควิชาการ และเกษตรกร
มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาภาคการเกษตรไทย TAITA ในฐานะผู้เล่นสำคัญ
สามารถนำความเชี่ยวชาญ ความรู้
และนวัตกรรมมาเสริมสร้างมาตรฐานการกำกับดูแลและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ
ด้วยการผลักดันนโยบายที่อิงหลักวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด
และมอบเทคโนโลยีล้ำสมัยให้แก่เกษตรกร ซึ่งจะช่วยเพิ่มศักยภาพในการผลิตและความมั่นคงทางอาหาร
เราจะสามารถยกระดับสถานะของประเทศไทยในเวทีโลกและขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวผ่านความร่วมมือเชิงกลยุทธ์นี้”
คุณวีรพล
เจริญพานิช รองนายกสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย กล่าวว่า “การดำเนินงาน SPMF
ในประเทศไทย
จะเป็นแนวทางในการปฏิรูปนวัตกรรมการเกษตรร่วมกับแนวทางปฏิบัติที่ทันสมัยอย่างผสมผสาน
ด้วยการผนึกกำลังของพันธมิตรจากหลากหลายภาคส่วน
และการนำเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างเช่นโดรนมาประยุกต์ใช้
เราจะสามารถช่วยให้เกษตรกรไทยปรับวิธีการทำเกษตรไปสู่แนวทางที่ยั่งยืนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาประยุกต์ใช้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดการใช้ทรัพยากรต่าง
ๆ รวมถึงลดการใช้น้ำทางการเกษตรซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุน
แต่ยังเกิดประโยชน์ต่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอีกด้วย กรอบความร่วมมือนี้กำลังจะแสดงให้เห็นว่านวัตกรรมและความร่วมมือสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนให้กับภาคการเกษตรของไทย”
ภายใต้การขับเคลื่อนของ
SPMF ในประเทศไทย
เรากำลังสร้างเวทีความร่วมมือที่เด่นชัดซึ่งจะช่วยให้เราก้าวข้ามความท้าทายที่เกษตรกรเผชิญ
และเปิดประตูสู่โอกาสใหม่ที่ยั่งยืนและเป็นนวัตกรรม ด้วยงบประมาณรวมกว่า 50
ล้านบาทที่จะดำเนินการในประเทศไทยเป็นเวลา 5 ปี SPMF ประเทศไทยจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยสู่การผลิตอาหารที่ปลอดภัย
ราคาเข้าถึงได้ และมีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับคนไทยและประชาคมโลก
การเปิดตัวกรอบความร่วมมือนี้จัดขึ้นในงาน
“SPMF ประเทศไทย
เวทีความร่วมมือเพื่อนวัตกรรมและเกษตรยั่งยืน” ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล
กรุงเทพฯ โดยงานนี้เน้นย้ำถึงสถานะของประเทศไทยในฐานะหนึ่งใน
9ประเทศทั่วโลกที่ได้รับเลือกให้ดำเนินการ
และแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการเกษตรที่ยั่งยืนและการพัฒนาการเกษตรด้วยนวัตกรรมในประเทศไทย
โครงการนี้มุ่งเน้นการนำ
3 แนวทางหลักในการปฏิรูปโครงสร้างเพื่อเปลี่ยนผ่านสู่ระบบอาหารที่ยั่งยืน
•
ส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนผ่านมาตรการจัดการความเสี่ยงที่โปร่งใสและนวัตกรรมทางการเกษตรขั้นสูง
•
เพิ่มการเข้าถึงนวัตกรรมโดยการสนับสนุนกฎระเบียบและการกำกับดูแลของภาครัฐที่เอื้อต่อเกษตรกรไทยในการเข้าถึงเครื่องมือ
แนวปฏิบัติ และเทคโนโลยีในการอารักขาพืชที่ทันสมัย
•
การใช้ผลิตภัณฑ์อารักขาพืชอย่างรับผิดชอบและมีประสิทธิภาพด้วยการอบรมเกษตรกรและพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกษตรกรสามารถปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดในการจัดการ
ควบคุมดูแล (stewardship) พร้อมทั้งสร้างความมั่นใจว่าห่วงโซ่อุปทานในประเทศไทยจะมีมาตรการบริหารจัดการตลอดกระบวนการที่เกี่ยวข้องในการใช้สารอารักขาพืชอย่างมีความรับผิดชอบ
ความร่วมมือนี้จะช่วยยกระดับเกษตรกรผ่านการสนับสนุนการเข้าถึงนวัตกรรมในการอารักพืชเพื่อให้สามารถจัดการปัญหาที่ท้าทายต่าง
ๆ และมีการดำเนินการที่สอดคล้องกับมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่เป็นสากล
ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงตลาดทั้งภายในประเทศและตลาดส่งออก
คุณขวัญชัย
แตงทอง เกษตรกรทำนาดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2562 กล่าวว่า
“ผมเป็นเกษตรกรที่ใส่ใจทุกขั้นตอนของการปลูกข้าว
ใช้เทคโนโลยีอย่างโดรนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
การนำวิธีการทันสมัยเหล่านี้มาใช้ช่วยให้ผมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มมูลค่าให้กับการเกษตร
เพราะโครงการ SPMF ชีวิตความเป็นอยู่ของผมดีขึ้น
ทำให้ผมสามารถนำแนวทางการทำเกษตรที่ยั่งยืนมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผมมีความหลงใหลในการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
และภูมิใจที่ได้แบ่งปันความรู้กับเพื่อนเกษตรกร
เพื่อให้เราทุกคนก้าวหน้าไปด้วยกันสู่อนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น”
รัฐบาลไทยได้ประกาศนโยบายอย่างท้าทายในการมุ่งเป้าเพิ่มรายได้ของเกษตรกรให้เป็นสามเท่าภายในสี่ปี
ผ่านการเชื่อมโยงตลาดและนวัตกรรมเป็นกลไกขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง
ภาคการเกษตรไทยจ้างงานประมาณ 30% ของแรงงานทั้งประเทศและมีส่วนสนับสนุน GDP ของไทยประมาณ 10% เทคโนโลยีนวัตกรรม การเชื่อมโยงตลาด
และเครื่องมือที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้นสามารถมีบทบาทสำคัญในการสร้างการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นมากขึ้น
นวัตกรรมการเกษตรอัจฉริยะอย่างโดรนเริ่มมีบทบาทโดดเด่นและสร้างผลกระทบมากขึ้นสำหรับเกษตรกรไทย
อย่างไรก็ตาม ยังมีความท้าทายสำคัญในด้านการเงิน ความยั่งยืน และกฎหมาย
ดร.
เซียง ฮี ตัน ผู้อำนวยการบริหาร CropLife Asia กล่าวทิ้งท้ายว่า
“การสร้างระบบอาหารที่มั่นคงและยั่งยืนไม่ใช่เรื่องที่ต้องเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
แต่เป็นสิ่งที่เราต้องบรรลุให้ได้ทั้งสองด้าน ความร่วมมือระหว่าง TAITA และรัฐบาลไทยภายใต้กรอบ SPMF สะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นร่วมกันในการขับเคลื่อนภารกิจที่สำคัญยิ่งนี้”