สาระดีดีนิวส์ไทม์

กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับ บริษัท พีแอนด์เอฟ เทคโน จำกัด จัดสัมมนา หลักสูตร การพัฒนาคุณภาพกล้วยหอมทองสู่ตลาดต่างประเทศ

 


 

เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ณ โรงแรมเซ็นเตอร์พอยท์ เทอร์มินอล 21 โคราช อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กรมส่งเสริมการเกษตร ร่วมกับ บริษัท พีแอนด์เอฟ เทคโน จำกัด ได้จัดงานสัมมนา หลักสูตร "การพัฒนาคุณภาพกล้วยหอมทองสู่ตลาดต่างประเทศ" เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพผลผลิตและส่งเสริมด้านการตลาดกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกให้กับเจ้าหน้าที่สังกัดกรมส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทองประมาณ 200 คน โดยมี นายพีรพันธ์ คอทอง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานผ่านระบบออนไลน์ มีนางดวงสมร พฤฑฒิกุล ผอ.กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินและปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวรายงาน โดยการสัมมนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนักวิชาการจากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ผู้ประกอบการนำเข้าผลไม้ไทยในประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนผู้แทนจาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมเป็นเป็นวิทยากร     



นางดวงสมร พฤฑฒิกุล ผอ.กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินและปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่าการสัมมนาในวันนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างการรับรู้ และถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องของการผลิตกล้วยหอมทองที่ได้มาตรฐานในการส่งออกไปต่างประเทศให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทองรวมถึงเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ที่มีการปลูกกล้วยหอมทองได้รับรู้ ได้มีความรู้ในการผลิตกล้วยหอมทองที่มีคุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาดส่งออก ภายใต้นโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คือ ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้



สำหรับบทบาทของกรมส่งเสริมการเกษตรที่ผ่านมาจะเป็นการถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรที่จะผลิตกล้วยหอมทอง มีคุณภาพใต้มาตรฐานให้ตรงกับความต้องการของประเทศปลายทางที่ต้องกร รวมถึงผลักดันให้เกิดการสร้างเครือข่ายให้เกิดขึ้นในระหว่างเกษตรกร เพื่อให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกัน



 

ด้าน นางสมพิส ทองดีนอก เกษตรจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ภาพรวมของการส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ จ.นครราชสีมา มีพื้นที่ทั้งหมด 12 ล้านไร่ เป็นพื้นที่การเกษตรอยู่ที่ประมาณ 8 ล้านไร่ พืชหลักที่เป็นพืชเศรษฐกิจ คือ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นอกจากนั้นยังมีการส่งเสริมการปลูกพืชที่มีมูลค่าสูง เช่น กล้วยหอมทอง เพื่อการส่งออกไปต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น 

ปัจจุบันพื้นที่ส่งเสริมปลูกกล้วยหอมทองเพื่อส่งออก ในระบบแปลงใหญ่ที่มีการขึ้นทะเบียน มีประมาณ 2,000 ไร่ ซึ่งจะมีเกษตรกรต้นแบบอยู่ที่บริษัทแปลงใหญ่สุไพบูลย์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา มีเกษตรกรที่เป็นสมาชิกอยู่ 74 ครัวเรือนพื้นที่อยู่รวมที่ประมาณ 1,200 ไร่ ซึ่งเกษตรกรจะมีองค์ความรู้ในเรื่องของการปลูกกล้วยหอมทองให้ได้มาตรฐาน GAP และมาตรฐานการส่งออก ปัจจุบันมีการส่งออกไปที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรมากกว่า 100 ล้านบาท/ปี ถือว่าเป็นเกษตรมูลค่าสูงที่ได้มีการส่งเสริม และขยายผลไปในพื้นที่อื่น อาทิ อำเภอหนองบุญมากอำเภอครบุรี และแหล่งที่มีระบบน้ำ และสภาพพื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกกล้วยหอมทอง




เกษตรจังหวัดนครราชสีมา กล่าวต่อว่า สำหรับงานสัมมนาในวันนี้ เป็นการพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตกล้วยหอมทองสู่ต่างประเทศถือว่าเป็นเรื่องที่ดีมากเพราะเราจะได้รู้ว่าต่างประเทศมีความต้องการผลผลิตแบบไหน เช่น ความแก่ ความอ่อน วิธีการผลิต และเรื่องของมาตรฐานในการส่งออก เป็นการเรียนรู้เรื่องของการใช้ตลาดนำนวัตกรรม เสริมเพิ่มรายได้ เมื่อรู้เรื่องของการตลาดแล้ว การผลิตก็จะง่ายขึ้นเพราะมีทิศทาง และเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้ผลผลิตออกมาได้ตรงความต้องการของตลาด การซื้อขายก็จะราบรื่น รายได้ที่เกษตรกรได้รับก็จะทำให้ครอบครัวอยู่ดีมีสุข รวมไปถึงเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับประเทศอีกด้วย




นางพิมใจ มัตสึโมโต กรรมการผู้จัดการ บริษัท พีแอนด์ เทคโน จำกัด กล่าวว่า กล้วยหอมทองจากประเทศไทยถือว่าเป็นที่นิยมอย่างมากของชาวญี่ปุ่น แต่ยังมีความกังวลว่าเราจะมีปริมาณกล้วยหอมทองไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ดังนั้นจึงได้จับมือกับกรมส่งเสริมการเกษตรจัดงานสัมมนาหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพกล้วยหอมทองสู่ตลาดต่างประเทศขึ้นเพื่อ ให้ความรู้กับเกษตรกร และต้องการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น 

 ในขณะเดียวกับผู้บริโภคญี่ปุ่นยังนิยมบริโภค “กล้วยหอมเขียว” มากถึง 1 ล้านตัน/ปี ด้วยเหตุนี้จึงเกิดแนวคิดว่าหากมีการเจรจาเพื่อขอโควต้าในการส่งออกเพิ่มขึ้น โดยวางเป้าหมายไว้ภายในระยะเวลา 3-5 ปีข้างหน้าอยากนำพาผลผลิตจากประเทศไทยส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นให้ได้ 1 แสนตัน 

“ที่ผ่านมาบ้านเรามีการปลูกกล้วยหอเขียวแล้ว แต่ผู้รับซื้อกลับไม่มารับซื้อจริงตามที่ได้มาส่งเสริมไว้ แต่สำหรับบริษัทเราหากทำถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของเราแล้ว รับประกันได้ว่าเรารับซื้อจริงตามข้อตกลง ทางด้านการส่งเสริมของภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เราต้องการเห็นการสนับสนุนอย่างจริงจัง แต่ไม่ต้องถึงขั้นแจกหน่อพันธุ์ฟรี เพราะการได้มาแบบฟรีๆ เขาจะไม่เห็นคุณค่า อยากให้สนับสนุนเกษตรกรในรูปแบบจำหน่ายในราคายุติธรรม ติดตามผลการดำเนินงาน และให้ความรู้ด้านการผลผลิตอย่างถูกต้องเพื่อการส่งออก ไปตลอดจนการเก็บผลผลิตจำหน่ายให้กับผู้รับซื้อ”

นางพิมใจ มัตสึโมโต กล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับเกษตรกรที่ทำสัญญาซื้อขายกับทางบริษัท อยากให้มีการทำ “ประกันภัย” เพราหากเกิดภัยจากธรรมชาติเกษตรกรจะได้มีทุนที่ได้จากเงินประกันมาฟื้นฟูได้เร็วขึ้น เพราะการทำสัญญาซื้อขายเพื่อส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่นไปแล้วจะต้องมีผลผลิตส่งไปตามที่ทำสัญญาไว้ เพราะผู้ส่งออกเองก็กังวลว่าหากเกษตรกรประสบกับภัยทางธรรมชาติแล้ว หากรอการเยียวยาจากทางภาครัฐอย่างเดียว แม้จะได้แต่อาจจะนำมาฟื้นฟู และสร้างผลผลิตส่งไม่ทันตามกำหนด คือเรากลัวที่สุดคือผลผลิตขาดตลาด ซึ่งหากเกิดประหาแบบนี้ขึ้นเราอาจจะเสียเครดิต แล้วส่งผลให้เสียโควตาส่งออกไปด้วยก็ได้”




นายวิชัย ปักษา ผู้อำนวยการสำนักกิจการระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ให้ข้อมูลว่า ธ.กส.ได้ให้ความช่วยเหลือดูแลเกษตรกรในเรื่องของสินเชื่อในเรื่องของการเกษตรอยู่แล้ว ซึ่งในปัจจุบันเรามองว่าการเกษตรที่อยู่ในประเทศตลาดอาจจะไม่เพียงพอแล้ว ดังนั้นเราจึงมองในเรื่องของการหาโอกาสให้กับเกษตรกรได้มีการส่งผลผลิตออกต่างประเทศด้วย ภายใต้แนวนโยบายที่ว่าธ...จะวางบทบาทเป็นแกนกลางทางด้านการเกษตร นั่นหมายถึงว่าในกิจกรรม หรือว่าทุกสิ่งที่มันเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของเกษตร ...จะเข้าไปอยู่ในในทุกส่วน และร่วมมือกับสวนงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

เพราะฉะนั้นเราจึงตั้งส่วนงานที่เรียกว่า สำนักกิจกรระหว่างประเทศ เพื่อมาช่วยเหลือในเรื่องของแนวทางนโยบายในการที่จะร่วมมือกับต่างประเทศ หรือว่าส่งเสริมร่วมกับบริษัทที่มีการนำเข้าส่งออกสินค้าเพื่อท้ายที่สุดเราคาดหวังว่าการกระทำแบบนี้จะทำให้เกษตรกรไทยมีโอกาสในการนำสินค้าไปขายงประเทศได้แล้วก็เสริมศักยภาพในเรื่องของความสามารถในการผลิตของคนไทยได้อีกด้วย 

สำหรับการจัดงานในวันนี้เป็นเรื่องที่ดีมากเพราะ เกษตรกร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับความรู้ในเชิงวิธีการรวมถึงวิชาการ ซึ่งอันนี้ผมว่ามันเป็นพื้นฐานที่เกษตรกรควรจะได้เรียนรู้นอกจากนั้นในเรื่องของการส่งออกเราก็ได้รับความมั่นใจจากผู้ที่ส่งออกสินค้าโดยเฉพาะกล้วยไปต่างประเทศ เพราะฉะนั้นผมมองว่าเทคนิคในเรื่องของการผลิตบวกกับการตลาด อันนี้เป็นปัจจัยที่สำคัญจริงๆ ที่จะทำให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจในเรื่องของรายได้ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สำหรับในส่วนที่ ธ.ก.ส. อยากจะเพิ่มเติมก็คือ เมื่อเกษตรกรมีความมั่นใจเพียงพอ ...ก็พร้อมจะเมเต็มในส่วนของสินเชื่อที่เกษตรกรอาจจะยังมีไม่เพียงพอ ซึ่งเรามองว่าอันนี้มันจะทำให้ทุกสิ่งที่เรามองว่าเป็นโอกาสที่มันจะเกิดให้มันเกิดขึ้นได้จริง ธ.ก.ส.ยินดีที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการเติบโตของเกษตรกรไทย” นายวิชัย ปักษา กล่าวทิ้งท้าย

 

 

แสดงความคิดเห็น (0)
ใหม่กว่า เก่ากว่า
สาระดีดีนิวส์ไทม์
สาระดีดีนิวส์ไทม์
สาระดีดีนิวส์ไทม์