กระทรวงยุติธรรม โดย กรมคุมประพฤติ MOU ผนึกความร่วมมือ สมาคมช่างผมเสริมสวยแห่งประเทศไทย
และ สมาคมเดอะเชฟประเทศไทย ร่วมทำหลักสูตร-ฝึกทักษะสร้างอาชีพ
วางเป้าหมายปั้นเชฟมือทอง - ช่างทำผมสุภาพบุรุษ-สตรี มืออาชีพ
มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้ที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติมีอาชีพที่มั่นคง
ยั่งยืน
วันที่ 26 กันยายน 2567 ณ ห้องรับรองกรมสอบสวนคดีพิเศษ ชั้น 2 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
เป็นประธานสักขีพยานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการสร้างงานสร้างอาชีพให้แก่ผู้ที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติ
โดยเป็นการลงนามความตกลง ระหว่าง กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม
กับสมาคมช่างผมเสริมสวยแห่งประเทศไทย และสมาคมเดอะเชพประเทศไทย
พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า เพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติ
กระทรวงยุติธรรมให้ได้รับโอกาสทางด้านการประกอบอาชีพ
และเพื่อให้บุคคลเหล่านี้มีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว
ตลอดจนไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก กระทรวงยุติธรรม กำหนดนโยบายสำคัญให้กับหน่วยงานในกลุ่มพัฒนาพฤตินิสัยซึ่งหนึ่งในนั้น
คือ
กรมคุมประพฤติเร่งหาแนวทางวิธีการหรือกิจกรรมในการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ
มุ่งเน้นการส่งเสริมและพัฒนาทักษะโอกาสทางอาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับผู้ที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติที่กลับตัวกลับใจในการทำความดีได้มีอาชีพที่มั่นคง
ยั่งยืน
จึงนำมาสู่การวันสำคัญในวันนี้ที่เป็นการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง
กรมคุมประพฤติกับ 2
หน่วยงานภาคเอกชนในครั้งนี้
สำหรับบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว
มีวัตถุประสงค์ 3 ด้านสำคัญ คือ 1.
เพื่อสนับสนุนการฝึกทักษะวิชาชีพช่างทำผมสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีและวิชาชีพการประกอบอาหาร
ให้แก่ผู้ที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติ ให้มีอาชีพที่สุจริต
มีรายได้เลี้ยงดูตนเองและครอบครัว สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามสมควร
เป็นพลเมืองดีของสังคม ตลอดจนเป็นกำลังของประเทศชาติในภายภาคหน้า 2. เพื่อส่งเสริมพัฒนาทางอาชีพช่างทำผมสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี
อาชีพการประกอบอาหารและขายอาหารให้เป็นอาชีพทางเลือกในการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมและบูรณาการภารกิจร่วมกันในการสร้างงานสร้างอาชีพระหว่างสมาคมช่างผมเสริมสวยแห่งประเทศไทยและสมาคมเดอะเชฟประเทศไทยกับกรมคุมประพฤติ
“การสร้างงาน สร้างอาชีพ
ถือเป็นอีกมาตรการสำคัญที่กระทรวงยุติธรรมมอบหมายให้กรมคุมประพฤติเร่งนำไปดำเนินการเพื่อเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ที่อยู่ภายใต้การดูแลช่วยเหลือตนเองและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ด้วยการมีอาชีพ
มีรายได้เลี้ยงตัวเองได้
เพื่อป้องกันมิให้ผู้ต้องหาและผู้กระทำผิดหวนกลับไปกระทำผิดอีก
โดยเราได้รับความร่วมมืออย่างดีจากสมาคมช่างผมเสริมสวยแห่งประเทศไทย
สมาคมเดอะเชพประเทศไทย ในการสร้างโอกาสและคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ที่อยู่ในความดูแล
โดยผ่านกระบวนการฝึกวิชาชีพ เพิ่มทักษะความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านอาหารและช่างเสริมสวยให้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน
หรือสามารถประกอบอาชีพอิสระยกระดับได้นำไปสู่การมีรายได้ที่มั่นคง
ยั่งยืนในครอบครัว” พันตำรวจเอกทวี
สอดส่อง กล่าวย้ำ
ด้าน นายเรืองศักดิ์ สุวารี อธิบดีกรมคุมประพฤติ
กล่าวว่า ในส่วนของกรมคุมประพฤติ จะทำหน้าที่
คัดเลือกผู้ที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติที่มีความสนใจและมีคุณสมบัติเข้ารับการฝึกทักษะวิชาชีพช่างทำผมสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี
รวมถึงยกระดับต่อยอดผู้ที่อยู่ในความดูแลในวิชาชีพการประกอบอาหาร
ตลอดจนสนับสนุนสถานที่และบุคลากรในการดำเนินกิจกรรมหรือโครงการการฝึกทักษะวิชาชีพช่างทำผมสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี
รวมถึงวิชาชีพการประกอบอาหารทุกรูปแบบและติดตามผลความคืบหน้าในด้านการประกอบอาชีพและความเปลี่ยนแปลงด้านพฤตินิสัย
ภายหลังจากผู้ที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติได้ผ่านการฝึกทักษะวิชาชีพช่างทำผมสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี
และวิชาชีพการประกอบอาหาร ตลอดจนสนับสนุนทุนประกอบอาชีพตามความต้องการและจำเป็น
ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนทุนประกอบอาชีพ
ส่วน นายอดิศ เชื้อคำเพ็ง
นายกสมาคมช่างผมเสริมสวยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า
ในส่วนของสมาคมช่างผมเสริมสวยจะทำหน้าที่ สนับสนุนวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ
ให้ความรู้ในด้านฝึกอบรมทักษะวิชาชีพช่างทำผมสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี
แก่ผู้ที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติและหน่วยงานในสังกัดกรมคุมประพฤติตลอดจนจัดหาเครื่องมือ
วัสดุอุปกรณ์
เอกสารการประกอบการฝึกทักษะวิชาชีพช่างทำผมสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีให้แก่ผู้ที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติที่เข้ารับการฝึกทักษะอาชีพช่างทำผมสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีจัดทำหลักสูตรฝึกทักษะวิชาชีพช่างทำผมสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี
และการพัฒนาสื่อการสอนที่เห็นชอบร่วมกันและออกประกาศนีบัตรให้แก่ผู้ที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติที่ผ่านการฝึกทักษะวิชาชีพช่างทำผมสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี
รวมทั้งเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ
และส่งเสริมความรู้ในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาชีพช่างผมเสริมสวยไปจนถึงให้การสนับสนุนผู้ที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติที่ผ่านหลักสูตรการฝึกทักษะวิชาชีพช่างทำผมสุภาพบุรุษและสุภาพสตรี
เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการชมรม
การออกหน่วยจิตอาสาและการเข้าสู่เวทีการประกวดในระดับสากล
ด้าน นายทองเลี่ยม พุกทอง นายกสมาคมเดอะเชฟประเทศไทย
กล่าวว่า รู้สึกภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือในครั้งนี้
ที่ผ่านมาสมาคมเดอะเชฟฯ กับ กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม
มีการดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่า ๓ ปี
สร้างสรรค์อาชีพให้กับผู้ที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติได้ประกอบอาชีพและมีโอกาสทางอาชีพ
สมาคมเดอะเชฟฯ จึงพร้อมสนับสนุนวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ
ให้ความรู้ในด้านฝึกอบรมทักษะวิชาชีพการประกอบอาหาร
ตลอดจนสนับสนุนการจัดหาเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์
เอกสารการประกอบการฝึกทักษะวิชาชีพและจัดทำหลักสูตรฝึกทักษะวิชาชีพการประกอบอาหาร
และการพัฒนาสื่อการสอนที่เห็นชอบร่วมกัน
และออกประกาศนีบัตรให้แก่ผู้ที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติที่ผ่านการฝึกทักษะวิชาชีพการประกอบอาหาร และเป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำ
และส่งเสริมความรู้ในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาชีพด้านการประกอบอาหารพร้อมทาน
สนับสนุนผู้ที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติที่ผ่านหลักสูตรการฝึกทักษะวิชาชีพการประกอบอาหาร
เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสถานประกอบการ ชมรม
การออกหน่วยจิตอาสาและการเข้าสู่เวทีการประกวดในระดับสากลต่อไป
นอกจากนี้
กรมคุมประพฤติได้นำเสนอผลงานในปีงบประมาณ 2567 ซึ่งนับเป็นผลงานในด้านการพัฒนาพฤตินิสัยที่โดดเด่น
โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหายาเสพติดในมิติของการป้องกันและแก้ไขที่มีประสิทธิภาพ อาทิ การบูรณาการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เสพและผู้ติดยาเสพติด
ภายใต้โครงการ DRIP MODEL สามารถเสนอศาลเพิ่มเงื่อนไขให้เข้ารับการบำบัดรักษา
จูงใจให้เข้ารับการบำบัดรักษา และติดตามหลังออกจากค่ายทุก 5
วัน จำนวน 18 ครั้ง พัฒนากระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดแบบครบวงจรในรูปแบบค่าย
5 วัน 15 วัน และ 60 วัน
ผลเป็นที่ประจักษ์สามารถลดการเสพซ้ำได้ต่ำกว่าสถิติสากลกว่าครึ่งหนึ่ง นำเสนอปัจจัยความสำเร็จรวมถึงกลยุทธ์ในกระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
อาทิ ทุกค่ายต้องไม่ม่วง เตรียมคนจัด คัดคนเข้า
การติดตามหลังออกจากค่ายโดยอาสาสมัครคุมประพฤติ
เพื่อนำมาปรับใช้ในค่ายที่จะเกิดขึ้นในปี 2568 การมีส่วนร่วมของ
“อาสาสมัครคุมประพฤติ” ในการติดตามป้องกันการเสพซ้ำ
ช่วยจูงใจไม่ให้ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด
ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการรับรายงานตัวผ่านจอภาพ
โดยมีการสรรหาและแต่งตั้งอาสาสมัครคุมประพฤติที่เป็นกลุ่มผู้นำชุมชน กำนัน
ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อช่วยเหลืองาน วางเป้าหมายให้ได้ 75,322 ราย
ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน การสร้างงาน สร้างอาชีพผ่านโครงการสำคัญต่างๆ อาทิ Street
Food สร้างอาชีพและการฝึกทักษะอาชีพทำผมเสริมสวยให้กับผู้ที่อยู่ในความดูแลให้ได้รับโอกาส
มีรายได้เลี้ยงดูตนเอง ไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำอีก
และที่นับเป็นก้าวสำคัญที่จะเกิดขึ้นในปี
2568 กรมคุมประพฤติ
กระทรวงยุติธรรมเตรียมดำเนินการอันจะเป็นการนำความยุติธรรมเข้าถึงประชาชนและลดความเหลื่อมล้ำ
คือ “การรับรายงานตัวผ่านจอภาพ” กับผู้ถูกคุมความประพฤติทุกฐานความผิด
ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย ห่างไกลจากสำนักงานคุมประพฤติ การเดินทางลำบาก
เช่น เกิดอุทกภัยในพื้นที่ ไม่สามารถลางานเพื่อมารายงานตัว ณ
ที่ตั้งสำนักงานคุมประพฤติได้ ซึ่งวิธีการนี้ทำให้เกิดความสะดวก ลดเวลาการเดินทาง
และที่สำคัญเป็นการเพิ่มช่องทางการรับรายงานตัว
ช่วยให้ผู้ที่อยู่ในความดูแลของกรมคุมประพฤติได้รับการแก้ไขฟื้นฟูรายบุคคลกับพนักงานคุมประพฤติ
เป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้กระทำผิดและนำไปสู่การผิดเงื่อนไขที่ลดลง